วันหยุดอยากทำเมนูข้าวผัด กินกับครอบครัว โดยเฉพาะข้าวผัดกุ้งของโปรด แต่ทุกครั้งที่ทำบ้างก็ข้าวไหม้ติดกระทะ หรือไม่ก็ข้าวแฉะ อยากได้วิธีผัดข้าวให้อร่อยจัง กระปุกดอทคอมขอนำเสนอวิธีทำข้าวผัดกุ้ง สูตรจาก คุณมอแกนน้อย สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ใส่กุ้งผัดกับข้าวจนหอม เม็ดข้าวเคลือบเนื้อไข่สวยงาม รสชาติอร่อยถูกปาก ถ้าอยากรู้ว่าทำอย่างไรเลื่อนลงไปดูเลยค่ะ
สวัสดีครับ 2-3 วันที่ผ่านมา ยังไม่ได้ออกเรือหาปลา เพราะน้ำออกขุ่นขี้ปลาวาฬ น้ำก็เชี่ยวไหลแรง สมกับน้ำเกิดใหม่ซากแพลงก์ตอนพืช และสัตว์ที่ตายลงไหลตามสายน้ำที่พัดพาไป จะเริ่มจมลงสู่พื้นทะเล ยามที่น้ำหยุดเดิน คงต้องรอระยะเวลาที่จะออกจับปลา ล่าปู ในอีกวันสองวัน ช่วงนี้เลยต้องเก็บของเก่ากิน มีกุ้งเหลือจับฟรีซไว้วันก่อน 5-6 ตัว นึกอะไรไม่ออกจะทำกะเพรากุ้ง แต่ด้วยมีกุ้งไม่มาก จำต้องเปลี่ยนมาเป็นข้าวผัดแทน ว่ากันด้วยเรื่องข้าวผัด แต่ละบ้านปรุงแตกต่างกัน บ้างก็ให้เอาข้าวไปแช่เย็นก่อนนำมาผัด บ้างก็ผัดเลยด้วยข้าวปกติ บ้างก็ใช้ตำราเดียวกับตะโก คือใช้ข้าวหุงใหม่ ๆ เปิดฝาหม้อกันเลย แม่บ้านหลายคนมีปัญหาเกี่ยวกับข้าวผัด ทำยังไงก็ไม่อร่อย ข้าวแฉะบ้าง ติดกระทะบ้าง สารพัดปัญหาทำให้ข้าวไม่อร่อย วันนี้ตะโกจะปรุงข้าวผัดให้ดูนะครับ เทคนิคผัดข้าวมีนิดเดียว รสชาติก็ตามที่เราชอบครับ
ส่วนผสม ข้าวผัดกุ้ง
• ข้าวหอมมะลิหุงสุก
• ผงรสดี 1 ช้อนชา
• น้ำตาลทราย
• ซอสถั่วเหลือง
• กุ้งสด
• ต้นหอมซอย
วิธีทำข้าวผัดกุ้ง
+++++++++++++++++++
กุ้งกุลาดำ
บ้านเราเริ่มเลี้ยงกุ้งชนิดนี้ มามากกว่า 30 ปี เป็นการเลี้ยงเพื่อแปรรูปส่งออก เพราะราคาซื้อในต่างประเทศสูง เราเลี้ยงกันมากขึ้น จนพื้นที่การเลี้ยงขยายรุกไปในป่าชายเลน นาข้าว นาโหนด เมื่อผลผลิตที่เริ่มมีมากขึ้น การส่งออกไปได้สวย เกษตรกรจึงเร่งกันผลิต มีการใช้ยาตามความเชื่อ มีการใช้เคมีในบ่อเลี้ยงตามคำโฆษณา มีอาหารเสริมที่อ้างสรรพคุณ เกษตรกรรายใหญ่กับรายย่อยใช้เคมีและยาแบบถูก ๆ ผิด ๆ ลืมพักผืนดินผืนน้ำ ก่อให้เกิดโรคระบาด ลามไปทั่วพื้นที่การเลี้ยง โรคที่ระบาดในช่วงนั้นที่ทำลายวงจรกุ้งกุลาดำคือ ตัวแดงดวงขาว ซึ่งในปัจจุบัน ก็ยังไม่ได้ข่าวการใช้ยารักษา หรือยับยั้งโรคนี้ลงได้ การเลี้ยงเริ่มลดลง เพราะบางรายหมดเงินหมดทองเพราะกุลาดำ คงมีแต่ผลผลิตที่ออกจากธรรมชาติ ป้อนสู่ตลาดบริโภค ส่วนตลาดส่งออกต้องจบลง เปลี่ยนมาเป็น กุ้งขาวแวนนาไมแทน
กุ้งกุลาเป็นกุ้งที่มีรสชาติดี เนื้อแน่นเหนียว สีสวยยามสุก แต่บางคนไม่ชอบเพราะจะบอกว่า เนื้อเหนียว ความจริงแล้วหากเรารู้จักการปรุง ใช้เวลาที่เหมาะสม กุ้งนี้จะมีความอร่อยไม่แพ้แชบ๊วยเลยสักนิด
กุ้งลายเสือเนื้อจะเหนียวเอาไปเผาดี กุ้งแชบ๊วยเนื้อนิ่มหวานกว่า ส่วนตัวผมชอบแชบ๊วยครับทำอาหารได้หลากหลาย กุ้งอีกชนิดก็กุ้งตะกาด คล้ายกุ้งขาวแวนนาไม แต่ผิวสากมาก จะกินอร่อยกว่ากุ้งขาว
กุ้งแชบ๊วย
กุ้งแชบ๊วยเป็นกุ้งที่มีเนื้อนุ่มกว่ากุลาดำ ความหวานขึ้นกับความสดของกุ้ง ในแผงขายตามตลาดกทม. จัดว่าสดพอประมาณ ถ้าหัวไม่คลอน แต่จะไม่อร่อยเท่าสดขึ้นจากทะเล เพราะความหวานในเนื้อหายไป คงไว้แต่ความนุ่ม กุ้งชนิดนี้ หากดูผิวเผินจะคล้ายกุ้งขาวแวนนาไมไซส์ใหญ่ขนาด25-30 ตัวกิโล วิธีสังเกตให้ดูผิวจะออกเหลือง มีไข่เหนือลำไส้ สีเขียวมองเห็นชัด ในขณะที่กุ้งขาวแวนนาไมจะไม่มีไข่อ่อนแบบกุ้งแชบ๊วย หากเลือกซื้อก็สังเกตที่ต้นคอกุ้ง อย่าให้หลวม ต้องติดกันไม่มีช่องว่าง จึงจะได้กุ้งที่สด
กุ้งขาวแวนนาไม
กุ้งก้ามกราม
กุ้งก้ามกราม นิยมเลี้ยงแบบแน่นหนา เพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตต่อไร่สูง กุ้งจึงแออัด และมีของเสียสะสมในบ่อสูง จึงจำเป็นต้องใช้เคมีจุลินทรีย์บำบัดในบ่อเลี้ยง หรือถ่ายน้ำในบ่อเลี้ยงมากกว่า กุ้งกุลาดำ กุ้งชนิดนี้ ถูกส่งเข้าโรงงานแปรรูป บางส่วนก็ถูกส่งขายต่างประเทศ บางส่วนก็ถูกขายในประเทศ ตามห้างสรรพสินค้าในตู้แช่แข็ง และร้านอาหารต่าง ๆ เช่นร้านสุกี้ ส่วนในตลาดสดเป็นกุ้งที่ไม่แปรรูป ขายพร้อมหัวและเปลือก มีขนาดที่แตกต่างกันไป
วิธีสังเกตในความสดของกุ้ง ผิวจะมันเป็นแวว หัวไม่คลอน ตัวใส ขนาด 40-50 ตัวต่อกิโลกรัมคือมาตรฐาน หากขนาดกุ้งเล็กลง เป็นกุ้งขนาด 80-90 ตัวต่อกิโลกรัม ให้ตั้งข้อสังเกตก่อนการซื้อ เพราะในความเป็นจริง กุ้งขนาดนี้ เกษตรกรจะไม่นิยมจับขาย เนื่องจากไม่ได้ราคา แต่ที่ต้องจับขายก็เพราะกุ้งมีปัญหาเลี้ยงไม่โต เกิดการระบาดของโรค EMS หากปล่อยไว้ก็จะไม่เหลืออะไร ซึ่งปัญหานี้ เกษตรกรไม่มีทางเลือก เราเป็นผู้บริโภค จึงต้องเลือกว่าจะซื้อกุ้งไซส์นี้ตามแผงในตลาดไหม ? เพราะหาก มีการใช้สารเคมี ในช่วงที่พบว่ากุ้งปัญหา ผู้บริโภคอย่างเรานี่แหละ รับเต็ม ๆ ภาครัฐเองก็ไม่สามารถควบคุมได้ ถึงแม้จะมีการขึ้นทะเบียนการเลี้ยงไว้ กุ้งป่วยตาย เกิดโรคระบาด รัฐก็ไม่ได้มาให้ความช่วยเหลือในเคสนี้ คนเลี้ยงก็ต้องจับขายทันทีเมื่อรู้ว่าเกิดโรคระบาดในบ่อ คนซื้อก็ไม่รู้หรอกว่า กุ้งจากบ่อไหน ? มีโรคหรือสารตกค้างอะไรบ้าง ? เคสที่ยกตัวอย่างเรื่องขนาดกุ้งเล็ก
ตะโกไม่ได้หมายความว่ากุ้งทั้งหมดนะครับ จะมีกุ้งชนิดเดียวกัน ขนาดเดียวกัน ออกวางขายตามแผงในตลาด อีกประเภทหนึ่งคือ กุ้งที่เลี้ยงด้วยความหนาแน่น เมื่อเลี้ยงไปได้สัก 60 กว่าวัน กุ้งติดแยะ จำเป็นต้องถ่ายกุ้งบางส่วนออก ก็จะทำการจับกุ้งในบ่อขึ้นขายบางส่วน เพื่อให้กุ้งที่เหลือ ไม่แออัด มีการเจริญเติบโตที่ดี ซึ่งจำเป็นต้องจับบางส่วนขาย จึงมีกุ้งไซส์ขนาด 80-90 ตัวกิโลในท้องตลาด ซึ่งเราจะไม่มีทางทราบได้เลยว่ากุ้งไหนที่มาจากบ่อที่พาเชียล กุ้งไหนมาจากบ่อที่เป็นโรค เราเองต้องเป็นผู้ตัดสินว่าจะเลือกซื้อหรือไม่
ตะโกน้อย ลาไปด้วยภาพสุดท้ายนะครับ บ่ายสามตะโกน้อยต้องไปตั้งแผงขายปลา หากขายหมดจะรีบกลับมาทำกับข้าวให้รับชมกันอีกนะครับ พบกันเมนูหน้าครับ กราบสวัสดี
แค่เห็นภาพเมนูข้าวผัดกุ้งก็หิวจนท้องร้อง มื้อเย็นนี้สงสัยต้องจัดสักกระทะ ข้าวสวยพร้อม ไข่ไก่พร้อม เอาล่ะ… ขาดแต่กุ้งนี่แหละ ขอตัวไปซื้อกุ้งสักกิโลก่อนนะคะ บ๊ายบายค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
คุณคุณมอแกนน้อย สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม