แนะนำเกลือหิมาลัย ยี่ห้อไหนดี ทางเลือกเติมรสเค็มให้กับมื้ออาหาร พร้อมวิธีเลือกซื้อและสรรพคุณที่น่าสนใจ เกลือหิมาลัย เกลือหิมาลายัน หรือเกลือสีชมพู เป็นเครื่องปรุงรสเค็มให้กับอาหารคล้ายเกลือทะเลหรือเกลือสีขาวที่คุ้นเคย แต่ปริมาณโซเดียมน้อยกว่า โดยเกลือหิมาลัยปริมาณ 1/4 ช้อนชา มีโซเดียมประมาณ 388 มิลลิกรัม แต่เกลือทั่วไปมีโซเดียมประมาณ 581 มิลลิกรัม ถ้าใช้เกลือชมพูจะทำให้เราได้รสชาติเค็มในปริมาณที่น้อยกว่า สำหรับใครที่อยากลองเกลือหิมาลัยว่าเป็นอย่างไร และมียี่ห้ออะไรให้เลือกซื้อบ้าง ไปดูพร้อม ๆ กันได้เลยค่ะ เกลือหิมาลัย หรือเกลือหิมาลายัน คือ เกลือบริสุทธิ์มีความเป็นธรรมชาติ มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาหิมาลัยในประเทศปากีสถาน เชื่อกันว่าเกิดจากการตกผลึกของน้ำทะเลสมัยโบราณ สาเหตุที่เกลือหิมาลัยมีสีชมพู เพราะมีไอเอิร์นออกไซด์ (Iron oxide) เป็นส่วนประกอบ และเชื่อกันว่ามีแร่ธาตุอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์อยู่มาก ผู้ที่รักสุขภาพจึงนิยมนำมาบริโภค มีแร่ธาตุที่มีประโยชน์ เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม ธาตุเหล็ก และซิงก์ เสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟัน เสริมภูมิต้านทาน ช่วยภาวะโลหิตจาง ช่วยลดภาวะความเป็นกรดในร่างกาย ทำให้ของเหลวในร่างกายสมดุล ช่วยให้การหายใจไม่ติดขัด ทำให้ไม่อ่อนเพลีย ช่วยระบบการย่อยอาหาร บรรเทาอาการท้องผูก ลดแก๊สในลำไส้ ใช้ทดแทนเครื่องดื่มเกลือแร่ บรรเทาอาการท้องเสีย ท้องร่วง ปกติร่างกายคนเราไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน หรือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน ทั้งนี้ ถ้าต้องการเสริมเกลือแร่ให้กับร่างกายหลังออกกำลังกายหรือท้องเสีย แนะนำให้ใช้เกลือหิมาลัยปลายช้อนชา หรือประมาณ 1/4 ช้อนชา ผสมน้ำ 1 แก้ว หรือประมาณ 250 มิลลิลิตร เกลือต้องสะอาด ไม่มีเศษฝุ่นผงอื่นเจือปน อาจมีสีชมพูอ่อนหรือเข้มปนกันได้ ถ้านำเกลือหิมาลัยมาละลายน้ำ สีจะออกใสหรือมีสีเข้มจากเกลือเพียงเล็กน้อย ไม่เป็นสีแดง น้ำไม่ขุ่น ไม่ขึ้นฟอง รสชาติจะไม่เค็มโดด เลือกซื้อเกลือหิมาลัยที่มีแหล่งที่มาชัดเจน เช่น มีใบรับรองถิ่นกำเนิดจากผู้ขาย เพื่อให้มั่นใจว่าได้ของแท้มาจากเทือกเขาหิมาลัย ประเทศปากีสถาน เลือกบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ฉีกขาดหรือแตกเสียหาย ฉลากระบุสถานที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิตและวันเดือนปีที่หมดอายุ และมีการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เกลือหิมาลัย เป็นเครื่องปรุงทางเลือกของผู้ที่ต้องการเติมรสเค็ม แม้ว่าโซเดียมจะต่ำกว่าเกลือทั่วไปแต่ก็ไม่ควรกินปริมาณเยอะเกินไป เพราะอาจเสี่ยงต่อโรคภัยต่าง ๆ ได้เช่นกัน 10 ความเชื่อเรื่องเกลือในการทำอาหาร ประโยชน์ที่มากกว่าปรุงรส ซีอิ๊วขาวลดโซเดียม ยี่ห้อไหนดี เค็มน้อยกลมกล่อม ถนอมไต น้ำปลาลดโซเดียม ยี่ห้อไหนดี เค็มน้อย เลือกซื้ออย่างไรให้ดีต่อไต เครื่องปรุงโซเดียมต่ำ ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 เลือกอย่างไรให้ดีต่อใจ ไตไม่พัง ซีอิ๊วขาว ยี่ห้อไหนดี เครื่องปรุงรสเค็มจากถั่วเหลืองหอมกลมกล่อม เทียบชัด ๆ ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงรสแต่ละชนิด เลือกยังไงไตไม่พัง ขอบคุณข้อมูลจาก : pobpad.com ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : Sino_Family_Shop, krungsrifood.com, nizeseasonings.com, nguansoon.com, khewra THAI, rawganiq.com, tops.co.th
แสดงความคิดเห็น