รู้หรือไม่ว่า กาแฟดำ ไม่เพียงแต่จะช่วยปลุกความรู้สึกตื่นตัวได้เท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพในอีกหลายด้าน ที่อาจทำให้คุณเปลี่ยนใจหันมาลองดื่ม กาแฟ ประเภทนี้ ส่วนจะมีอะไรบ้าง เราไปหาคำตอบกัน
เป็นที่ทราบกันดีว่า ถ้าอยากดื่มกาแฟแบบเฮลธ์ตี้ที่ไม่ทำร้ายสุขภาพก็ควรเลือกดื่ม “กาแฟดำ” เพราะไม่มีส่วนผสมของนม ครีมเทียม หรือน้ำตาล แถมได้ความเข้มข้นแบบเต็ม ๆ แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้สึกว่า ประโยชน์ของกาแฟดำเพียว ๆ ดีต่อสุขภาพขนาดไหน เราจึงอยากจะพาไปทำความรู้จักเครื่องดื่มแก้ง่วงชนิดนี้กันให้มากขึ้น พร้อมวิธีชงกาแฟดำดื่มเองง่าย ๆ ในไม่กี่ขั้นตอน ด้วยเครื่องชงกาแฟอัตโนมัติที่จะเปลี่ยนการดื่มกาแฟดำให้สะดวกกว่าที่เคย
เพราะกาแฟดำมีความเข้มและรสชาติค่อนข้างขมอมเปรี้ยว จึงทำให้บางท่านไม่โปรดปรานสักเท่าไรนัก แม้แต่คอกาแฟเองก็ยังต้องยอมแพ้ ส่วนคนที่รักสุขภาพขึ้นมาหน่อยก็จะนิยมดื่มมากกว่ากาแฟชนิดอื่น เพราะนอกจากจะมีประโยชน์แอบแฝงอยู่มากแล้ว การดื่มกาแฟดำยังได้ลิ้มรสกาแฟแบบเน้น ๆ พร้อมด้วยกลิ่นหอมที่ชัดเจนด้วย อยากจะรู้กันแล้วใช่ไหมว่ากาแฟดำมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร ลองมาดูกันเลย
1. ช่วยปลุกความตื่นตัว ลดความเครียด
ในกาแฟดำมีคาเฟอีนซึ่งเป็นสารสำคัญที่สามารถปลุกความตื่นตัวให้กับร่างกายที่อ่อนล้าหรืออ่อนเพลียได้ในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า หายง่วงขึ้นมาทันที และคาเฟอีนในกาแฟดำมีส่วนช่วยขยายหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น อาการตึงเครียดก็จะผ่อนคลายลง เพียงแค่ได้กลิ่นกาแฟหอม ๆ ก็ทำให้รู้สึกดีขึ้นแล้ว และยังช่วยลดอาการปวดศีรษะจากความเครียดหรืออาการเมาค้างได้ด้วย
2. มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ป้องกันมะเร็ง ช่วยชะลอวัย
สำนักงานวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้อ้างถึงงานวิจัยที่พบว่า ในกาแฟดำมีสารต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างสูง ทั้งฟลาโวนอยด์และกรดอะซิติก ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ผิดปกติในร่างกาย อาจช่วยลดก้อนเนื้อร้ายหรือทำลายเซลล์ที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้ ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้ ทั้งโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทวารหนัก มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก รวมไปถึงมะเร็งปากมดลูก และยังช่วยชะลอวัย ลดความเหี่ยวย่น ทำให้ผิวพรรณเต่งตึง กระชับ
3. กระตุ้นความจำ
การศึกษาของมหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริดา เผยว่า คนอายุล่วงเข้าวัยกลางคน ควรดื่มกาแฟประมาณ 4-5 แก้วต่อวัน เพื่อเพิ่มระดับฮอร์โมน G-CSF ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดความเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์ นอกจากนี้กาแฟยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ประสาท ลดอาการหลง ๆ ลืม ๆ ที่เกิดตามวัยได้
4. ขับพิษสะสมในร่างกาย ลดอาการบวมน้ำ เพิ่มการเผาผลาญ ลดน้ำหนัก
เคยได้ยินไหมคะว่า กาแฟดำช่วยดีท็อกซ์และลดอาการบวมน้ำได้ เพราะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จึงช่วยขับแบคทีเรีย หรือสารพิษต่าง ๆ ในร่างกายออกมานั่นเอง และยังช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญของร่างกายได้ คนลดน้ำหนักจึงนิยมดื่มกันมากเลยทีเดียว เพราะในกาแฟดำ 1 แก้วที่ไม่ใส่น้ำตาลเลย หรือประมาณ 100 มิลลิลิตร จะให้พลังงานประมาณ 5-10 กิโลแคลอรี ซึ่งถือว่าน้อยมาก และหากต้องการดื่มกาแฟดำลดน้ำหนัก ควรดื่มหลังมื้ออาหาร และก่อนออกกำลังกาย 30 นาที จะช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญ และทำให้เราสามารถออกกำลังกายได้นานขึ้นด้วย
5. ลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน
การดื่มกาแฟดำไม่เกินวันละ 3 แก้ว หรือการได้รับคาเฟอีนไม่เกิน 300 มิลลิกรัม อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน และกระดูกสะโพกหักได้
6. ลดอาการหอบหืด
การดื่มกาแฟดำอย่างน้อย 3 แก้วต่อวัน จะช่วยลดอาการหอบหืดที่เกิดจากการที่ประสาทสำรองถูกกระตุ้น โดยฤทธิ์ของกาแฟดำจะเข้าไปช่วยระงับความตึงเครียดของประสาทสัมผัสสำรอง และไม่ทำให้เกิดอาการหอบ
7. ลดความเสี่ยงโรคเกาต์
คาเฟอีนในกาแฟดำมีส่วนช่วยบรรเทาการอักเสบของข้อ โดยเฉพาะเคสที่มีสาเหตุมาจากกรดยูริกที่เกินขนาด เนื่องจากกาแฟมีฤทธิ์ ขับปัสสาวะ และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านการเสื่อมสลายของเซลล์ในร่างกายด้วย
8. ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
ในกาแฟดำมีวิตามินบีรวมชนิดหนึ่งชื่อว่า นิโคติน ซึ่งจะช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดและป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้ อีกทั้งคาเฟอีนยังมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น แต่ถ้าป่วยเป็นโรคหัวใจแล้วไม่แนะนำให้ดื่มนะคะ เพราะอาจกระตุ้นอาการของโรคได้
9. ลดความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน
สถาบันการแพทย์อเมริกันได้ทำการวิจัยและพบว่า คาเฟอีนในกาแฟมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสันได้ถึง 25% เพียงดื่มเป็นประจำทุกวัน วันละ 2-3 แก้ว
10. ดีต่อตับ
กาแฟดำมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับตับได้ เช่น ลดการอักเสบ ลดการเกิดพังผืดในตับ ไม่ว่าจะเป็นโรคตับแข็งที่มีสาเหตุจากการดื่มสุรา โรคไวรัสตับอักเสบ ภาวะไขมันพอกตับ และโรคมะเร็งตับ
กินกาแฟดำให้ดีต่อสุขภาพ ควรกินแบบไหนดี ?
หากอยากดื่มกาแฟดำให้ดีต่อสุขภาพ แนะนำให้ลองทำตามนี้เลยค่ะ
1. หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟดำตอนท้องว่าง เพราะกาแฟมีกรดที่อาจกัดกระเพาะได้
2. ไม่ควรดื่มกาแฟดำเกิน 4 แก้วต่อวัน หรือรับคาเฟอีนได้ไม่เกิน 300-400 มิลลิกรัมต่อวัน
3. หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟระหว่างออกกำลังกายและหลังออกกำลังกาย เนื่องจากอาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินจำเป็น
4. หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟหลังเวลา 14.00 น. เพราะอาจทำให้นอนหลับยาก
5. หากมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าต้องจำกัดการกินกาแฟหรือต้องงดดื่มกาแฟหรือไม่
กาแฟดำ ยิ่งชงเอง ยิ่งดีต่อสุขภาพ
การได้ชงกาแฟดำดื่มเองทำให้เรามีโอกาสเลือกชนิดกาแฟได้ว่าต้องการสายพันธุ์ไหน ผ่านกรรมวิธีคั่วบดอย่างไร เพื่อได้รสชาติที่ต้องการ อีกทั้งยังจะได้กลิ่นกาแฟหอมตลบอบอวลช่วยเพิ่มความรู้สึกสดชื่นให้กับเราได้ตั้งแต่เช้าด้วยนะคะ หลายคนจึงเริ่มหันมาสนใจเครื่องชงกาแฟอัตโนมัติ หรือเครื่องชงกาแฟแคปซูลติดบ้านกันมากขึ้น ซึ่งข้อดีมีมากมาย อาทิ
- สะดวกต่อการใช้งาน ชงกาแฟง่าย กดแค่ไม่กี่ปุ่มก็รอดื่มกาแฟดำได้ในเวลาสั้น ๆ
- ขนาดเครื่องกะทัดรัด ไม่ต้องติดตั้งให้วุ่นวาย
- แคปซูลกาแฟก็มีให้เลือกหลากหลายรสชาติ
- ราคาไม่แรง ตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่นปลาย ๆ
- ไม่ต้องกำจัดกากกาแฟ หรือล้างเครื่องหลายขั้นตอน
- เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีดีไซน์ทันสมัย ใช้ตกแต่งบ้านก็ดูชิคไม่เบา
วิธีเลือกเครื่องชงกาแฟอัตโนมัติ
หากกำลังมองหาเครื่องชงกาแฟอัตโนมัติที่ตอบโจทย์ความต้องการ แนะนำให้เช็กตามนี้
- ดีไซน์และขนาดของเครื่องชงกาแฟ ที่เหมาะกับบ้านและไลฟ์สไตล์ของเรา
- ความจุแท็งก์น้ำ ทำกาแฟได้กี่แก้ว เพียงพอกับความต้องการของจำนวนสมาชิกในบ้านหรือไม่
- ทำความสะอาดง่าย ถอดอุปกรณ์ไม่เยอะชิ้น และวิธีการถอดล้างไม่ยุ่งยาก
- รูปแบบแคปซูลกาแฟที่รองรับ ที่อาจแตกต่างกันในแต่ละรุ่น ควรเช็กก่อน
- ฟังก์ชันและความคุ้มค่า ตรงกับความต้องการหรือไม่ เช่น ระบบอัตโนมัติหรือแมนวล, เมนูเครื่องดื่มที่ทำได้, ระบบสตรีมนม, ระยะเวลาในการชง, โหมดประหยัดพลังงาน, โหมดทำความสะอาดเองในตัว เป็นต้น
รีวิวเครื่องชงกาแฟอัตโนมัติ
Nespresso Essenza Mini
หลังจากที่ได้รู้จักกับประโยชน์ของกาแฟดำ และเช็กลิสต์การเลือกเครื่องชงกาแฟอัตโนมัติ หรือเครื่องชงกาแฟแคปซูลกันไปแล้ว ใครที่เริ่มสนใจอยากมีติดบ้าน เราก็มีมาแนะนำให้รู้จัก 1 รุ่นเด็ด นั่นก็คือ เครื่องชงกาแฟอัตโนมัติ Nespresso Essenza Mini กับความโดดเด่นเรื่องดีไซน์ตัวเครื่องสุดทันสมัย ดูมีสไตล์ ขนาดกะทัดรัด วางในพื้นที่จำกัดได้สบาย ๆ เคลื่อนย้ายง่าย น้ำหนักเบาเพียง 2.3 กิโลกรัม และยังช่วยตกแต่งบ้านให้ดูสวยงามอีกด้วยนะคะ เหมาะมากกับคนที่ชอบเปลี่ยนสไตล์การจัดบ้านบ่อย ๆ
โดยเครื่องชงกาแฟรุ่นนี้สามารถปิดเองอัตโนมัติหากไม่มีการใช้งานใน 9 นาที ความจุแท็งก์น้ำ 0.6 ลิตร แรงดัน 19 บาร์ ทำความร้อนได้เร็ว และสามารถทำกาแฟได้ภายใน 30 วินาที ถือว่าชงกาแฟดำได้มากกว่า 1 แก้ว ในเวลาอันรวดเร็วเลยล่ะค่ะ และฐานรองแก้วกาแฟสามารถถอดออกได้ด้วยนะคะ ใครมีแก้วยาวก็ใช้กับเครื่องนี้ได้
หากอยากลองทำกาแฟดำดื่มเองที่บ้านก็ทำได้ง่าย ๆ ด้วยเครื่องชงกาแฟแคปซูลอัตโนมัติ
Nespresso Essenza Mini ที่มีระบบชงกาแฟดำ 2 แบบ คือ
เอสเพรสโซ่ (Espresso) และลุงโก้ (Lungo) หรือกาแฟที่ใช้น้ำเป็น 2-3 เท่าของปริมาณน้ำปกติ เพียงเติมน้ำให้เต็มแท็งก์ กดปุ่มเปิดเครื่องค้างไว้จนไฟกะพริบ เมื่อเครื่องพร้อมใช้งานไฟที่ปุ่มกดจะค้างนิ่ง เราก็สามารถใส่แคปซูลกาแฟลงไปได้เลย จากนั้นก็ปิดฝา แล้วกดเลือกกาแฟแบบที่ต้องการ ใช้เวลาเพียง 30 วินาทีเท่านั้นเอง
แทงก์ขนาดกระทัดรัด ไม่กินพื้นที่ ก่อนใช้งานก็เพียงเติมน้ำให้เต็ม
เลือกแคปซูลกาแฟดำสูตรที่ชอบ ซึ่งมีให้เลือกมากถึง 30 รสชาติ
ใส่แคปซูลกาแฟลงในเครื่องแล้วกดปิด
ถ้าชอบกาแฟดำแบบเข้มข้นหน่อยให้กดที่ปุ่มไอคอนรูปแก้วสั้น (ปุ่มซ้ายมือ) ก็จะได้เอสเพรสโซ่ ปริมาณ 40 มิลลิลิตร หรือถ้าอยากได้กาแฟดำแบบลุงโก้ ให้กดที่ปุ่มไอคอนรูปแก้วยาว (ปุ่มขวามือ) ก็จะได้กาแฟดำ 110 มิลลิลิตร ปริมาณน้ำจะเยอะและมีรสที่อ่อนกว่า
กุดปุ่มเพื่อเปิดเครื่อง 1 ครั้ง รอจนไฟสีเขียวหยุดกระพริบ ก็สามารถเลือกกาแฟรูปแบบที่ต้องการได้เลย
รอให้เครื่องทำงานจนน้ำกาแฟดำหยุดไหล
ก็จะได้กาแฟดำไว้ดื่มตอนไหนก็ได้ยามที่ต้องการ
สำหรับเครื่องชงกาแฟแคปซูลอัตโนมัติ Nespresso Essenza Mini มี 4 สี กับ 2 รูปทรงให้เลือก คือ สีแดง สีเขียว สีดำ และสีขาว นอกจากนี้ยังแถมกาแฟแคปซูล Nespresso ให้อีก 1 กล่องจุก ๆ ในราคาเพียง 4,500 บาท เท่านั้น ใครที่ชอบดื่มกาแฟดำ และอยากมีฟีลได้กลิ่นกาแฟหอม ๆ ก่อนไปทำงานตอนเช้า ลองไปส่องข้อมูลเพิ่มเติมหรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่
www.nespresso.com ซึ่งมีบริการจัดส่งถึงบ้านให้ฟรีอีกด้วย
ได้ทราบประโยชน์เต็ม ๆ ของกาแฟดำกันไปแล้ว งานนี้หากอยากลองดื่มกาแฟดำเพื่อสุขภาพดูบ้าง สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นได้นะคะ ดื่มวันละนิดจิตแจ่มใส ดื่มแต่พอเหมาะพอดีน้า
ขอบคุณข้อมูลจาก
nespresso,
สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา,
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,
ชีวจิต
Livestrong,
LiveChula