บ๊ะจ่างนับเป็นของอร่อยที่ถูกอกถูกใจใครหลายคนไม่น้อย วันนี้เราก็เลยอยากจะนำประวัติของบ๊ะจ่างมานำเสนอให้ได้รับทราบกันบ้าง ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ ว่าบ๊ะจ่างมีที่มาจากไหนยังไงกันเอ่ย
บ๊ะจ่าง หรือขนมที่ชาวจีนโบราณเรียกว่า ขนมจ้าง คือ ข้าวเหนียวที่ผัดกับหมู หรือหมูแดง กุนเชียง กุ้งแห้ง เห็ดหอม ถั่ว เม็ดบัว บ้างก็ใส่ไข่แดงของไข่เค็มลงไปด้วยตามแต่ละท้องถิ่น จากนั้นก็ห่อด้วยใบไม้ ส่วนมากจะเป็นใบไผ่จีน แล้วก็นำไปนึ่งให้สุก มักจะขายคู่กับกุยช่าย และขนมจีบ หรือบางทีก็หาซื้อได้ทั่วไปตามตลาด
จีนเป็นชาติที่มีเทศกาลไหว้รำลึกถึงบุญคุณบรรพบุรุษเป็นเทศกาลสำคัญอยู่ 3 เทศกาลด้วยกันคือ เทศกาลไหว้พระจันทร์ เทศกาลตรุษจีน และเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง ซึ่งตรงตามปฏิทินทางจันทรคติ ในทุกวันที่ 5 เดือน 5 ของทุกปี
เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยเลียดก๊ก สืบเนื่องมาจากปราชญ์ราชกวีที่ชื่อ ซีหยวน เป็นขุนนางที่จงรักภักดีกับพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีความซื่อสัตย์ ตรงฉิน และเด็ดขาด จนทำให้กลุ่มคนที่ไม่จงรักภักดีกับประเทศไม่ชอบหน้า กระทั่งวันหนึ่งพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเสด็จสวรรคต กลุ่มขุนนางที่คิดร้ายกับซีหยวนก็ช่วยกันเป่าหูกษัตริย์องค์ใหม่จนไขว้เขว และสั่งเนรเทศซีหยวนออกจากแคว้นฉู่ในที่สุด ซีหยวนเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมาก จนตัดสินใจกระโดดแม่น้ำเปาะล่อกัง (บางตำราว่าเป็นแม่น้ำแยงซีเกียง) เพื่อฆ่าตัวตาย ในวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5
ชาวบ้านที่ได้รู้ข่าวต่างก็เศร้าโศกเสียใจไม่แพ้กัน จึงได้พากันล่องเรือออกตามหาศพของซีหยวน โดยไม่ลืมที่จะนำข้าวปลาอาหารไปโปรยลงในแม่น้ำ ล่อให้ปลาต่าง ๆ ออกมากิน เพื่อป้องกันปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ กัดกินศพของซีหยวน นับจากนั้นเป็นต้นมาก็เหมือนจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ต้องนำอาหารไปโปรยลงแม่น้ำเปาะล่อกังทุกวันครบรอบการตายของซีหยวน
จีนเป็นชาติที่มีเทศกาลไหว้รำลึกถึงบุญคุณบรรพบุรุษเป็นเทศกาลสำคัญอยู่ 3 เทศกาลด้วยกันคือ เทศกาลไหว้พระจันทร์ เทศกาลตรุษจีน และเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง ซึ่งตรงตามปฏิทินทางจันทรคติ ในทุกวันที่ 5 เดือน 5 ของทุกปี
เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยเลียดก๊ก สืบเนื่องมาจากปราชญ์ราชกวีที่ชื่อ ซีหยวน เป็นขุนนางที่จงรักภักดีกับพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีความซื่อสัตย์ ตรงฉิน และเด็ดขาด จนทำให้กลุ่มคนที่ไม่จงรักภักดีกับประเทศไม่ชอบหน้า กระทั่งวันหนึ่งพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเสด็จสวรรคต กลุ่มขุนนางที่คิดร้ายกับซีหยวนก็ช่วยกันเป่าหูกษัตริย์องค์ใหม่จนไขว้เขว และสั่งเนรเทศซีหยวนออกจากแคว้นฉู่ในที่สุด ซีหยวนเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมาก จนตัดสินใจกระโดดแม่น้ำเปาะล่อกัง (บางตำราว่าเป็นแม่น้ำแยงซีเกียง) เพื่อฆ่าตัวตาย ในวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5
ชาวบ้านที่ได้รู้ข่าวต่างก็เศร้าโศกเสียใจไม่แพ้กัน จึงได้พากันล่องเรือออกตามหาศพของซีหยวน โดยไม่ลืมที่จะนำข้าวปลาอาหารไปโปรยลงในแม่น้ำ ล่อให้ปลาต่าง ๆ ออกมากิน เพื่อป้องกันปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ กัดกินศพของซีหยวน นับจากนั้นเป็นต้นมาก็เหมือนจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ต้องนำอาหารไปโปรยลงแม่น้ำเปาะล่อกังทุกวันครบรอบการตายของซีหยวน
แต่ 2 ปีให้หลัง ก็มีชาวบ้านผู้หนึ่งฝันเห็นชีหยวนที่มาในชุดอันสวยงาม กล่าวขอบคุณเหล่าชาวบ้านที่นำเอาอาหารไปโปรยให้เพื่อเซ่นไหว้ แต่เขาบอกว่าอาหารที่เหล่าชาวบ้านนำไปโปรยเพื่อเป็นเครื่องเซ่นถูกเหล่าสัตว์น้ำกินเสียจนหมดเกลี้ยง ชีหยวนจึงแนะนำให้นำอาหารเหล่านั้นห่อด้วยใบไผ่ หรือใบจากก่อนนำไปโยนลงน้ำ หลังจากนั้นในปีต่อมา ชาวบ้านต่างก็ทำตามที่ชีหยวนแนะนำคือ นำอาหารห่อด้วยใบไผ่ไปโยนลงแม่น้ำเพื่อเซ่นให้แก่ชีหยวน หลังจากวันนั้นชีหยวนก็ได้มาเข้าฝันชาวบ้านอีกว่า คราวนี้ได้กินมากหน่อย แต่ก็ยังคงโดนสัตว์น้ำแย่งไปกินได้ ชาวบ้านต้องการให้ชีหยวนได้กินอาหารที่พวกเขาเซ่นให้อย่างอิ่มหนำสำราญจึงได้ถามชีหยวนว่าควรทำเช่นไรดี ชีหยวนจึงแนะนำอีกว่า เวลาที่จะนำอาหารไปโยนลงแม่น้ำ ให้ตกแต่งเรือเป็นรูปมังกร เมื่อสัตว์น้ำทั้งหลายได้เห็นก็จะนึกว่าเป็นเครื่องเซ่นของพญามังกรจะได้ไม่กล้าเข้ามากินนั่นเอง
จากนั้นเป็นต้นมาเทศกาลไหว้ขนมบ๊ะจ่างก็สืบทอดกันรุ่นต่อรุ่นจนถึงทุกวันนี้ และได้เพิ่มการแข่งขันเรือมังกรเข้าไปด้วย ซึ่งเมื่อก่อนคนจีนจะทำขนมบ๊ะจ่างกันแค่ปีละครั้ง แต่ทุกวันนี้บ๊ะจ่างกลายเป็นอาหารแสนอร่อยที่มีขายกันอย่างแพร่หลาย อยากกินขึ้นมาเมื่อไร แค่ไปหาซื้อมาก็ได้อิ่มหนำใจแล้วล่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลประกอบจาก
beeman, jiewfudao.com, ranthong.com, wikipedia
จากนั้นเป็นต้นมาเทศกาลไหว้ขนมบ๊ะจ่างก็สืบทอดกันรุ่นต่อรุ่นจนถึงทุกวันนี้ และได้เพิ่มการแข่งขันเรือมังกรเข้าไปด้วย ซึ่งเมื่อก่อนคนจีนจะทำขนมบ๊ะจ่างกันแค่ปีละครั้ง แต่ทุกวันนี้บ๊ะจ่างกลายเป็นอาหารแสนอร่อยที่มีขายกันอย่างแพร่หลาย อยากกินขึ้นมาเมื่อไร แค่ไปหาซื้อมาก็ได้อิ่มหนำใจแล้วล่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลประกอบจาก
beeman, jiewfudao.com, ranthong.com, wikipedia