
ประเพณีของไทยหลาย ๆ อย่าง มักจะมีเรื่องราวของอาหารเข้าไป ข้องเกี่ยวอยู่ด้วยเสมอ เพราะคนไทยโบราณจะชอบทำอาหาร หรือขนมไทยชนิดต่าง ๆ ไปทำบุญถวายพระ แตกต่างกันไปตามความเชื่อ จนทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ที่ขาดกันไปไม่ได้แล้ว และก็สืบทอดมาจนถึงัจจุบัน เช่นเดียวกับ ข้าวต้มมัดกับวันเข้าพรรษา ที่เรากำลังจะพูดถึงต่อไปนี้ด้วย
เกิดเป็นคนไทยจะมีใครที่ไม่รู้จักข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มผัด บ้างไหมเนี่ย ไม่ว่าจะไปอยู่มุมไหนของประเทศไทยก็มีขาย หาซื้อกินได้ง่ายเหลือเกิน โดยเฉพาะในช่วงวันเข้าพรรษา เราจะได้เห็นข้าวต้มมัดวางขายกันให้เกลื่อนเลยล่ะ เพราะคนไทยยกให้ข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มผัด เป็นขนมประจำวันเข้าพรรษานั่นเอง

ในสมัยก่อน คนโบราณยกให้ข้าวต้มมัดเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของคนมีคู่ เพราะมีลักษณะการจับขนม 2 ชิ้น มามัดเข้าไว้ด้วยกันนั่นเอง และมีความเชื่อว่า ถ้าหนุ่มสาวคู่ไหนทำบุญวันเข้าพรรษาด้วยข้าวต้มมัด ความรักมักจะดี ชีวิตคู่ครองจะคงอยู่นานตลอดกาล เหมือนกับข้าวต้มมัดที่ผูกกันติดหนึบนั่นเอง คนโบราณผู้มีคู่ก็เลยนิยมทำข้าวต้มมัดไปถวายพระในวันเข้าพรรษานั่นเอง โอ้โห !

อีกหนึ่งตำนานที่เล่าต่อ ๆ กันมาว่า ข้าวต้มมัด เป็นข้าวต้มที่พระอินทร์กับนางสนมกินด้วยกันเมื่อตอนมีความรักให้กัน แต่ต่อมาพระอินทร์เกิดจับได้ว่าานางสนมมีชู้ จึงโกรธและดลบันดาลให้ลูกของนางสนมที่เกิดกับชู้ คลอดออกมาเป็นข้าวต้มมัด เมื่อถึงเวลาที่นางสนมคลอดบุตรอกมา ก็กลายเป็นข้าวต้มมัดจริง ๆ นางสนมก็เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ลูกแท้ ๆ ของตัวเอง เลยนำลงมาทิ้งไว้ที่ป่าในโลกมนุษย์ ตา-ยายคู่หนึ่งเดินเข้ามาในป่าก็มาเจอข้าวต้มมัดที่นางสนมมาทิ้งไว้ ลองแกะกินดูแล้วว่าอร่อย ก็เลยลองทำตามดู แล้วก็นำมาขายจนเป็นที่แพร่หลายมาจนถึงทุกวันนี้นี่เอง
พอได้รู้ถึงเรื่องราวของข้าวต้มมัดกับวันเข้าพรรษไปแล้ว เราก็มาทำความรู้จักขนมชนิดนี้กันให้ลึกกว่าที่เคยรู้กันหน่อยดีกว่า
ข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มผัด เป็นการนำข้าวเหนียวไปผัด หรือกวนกับน้ำกะทิ จากนั้นก็ห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน สอดไส้กล้วยลงไปด้วย แล้วนำไปนึ่งให้สุก ข้าวต้มมัดมีชื่อเรียกหลากหลายมาก เช่น




นอกจากนั้นเราอาจจะพบเห็นขนมที่มีรูปร่างหน้าตาคล้าย ๆ ข้าวต้มมัดแบบนี้ได้ที่ต่างประเทศอีกด้วย อย่างในประเทศฟิลิปปินส์ เรียกขนมชนิดนี้ว่า "อีบอส" หรือ "ซูมัน" ซึ่งจะเรียกต่างกันไปตามส่วนผสมที่นำมาทำ ส่วนในประเทศลาว ก็มีข้าวต้มมัดเช่นเดียวกันกับเรา แต่เรียกว่า "เข้าต้ม" มีทั้งแบบไส้เค็มที่ใส่มันหมูกับถั่วเขียว และแบบไส้หวานที่ใส่ไส้กล้วยเหมือนข้าวต้มมัดทั่วไปนั่นเอง

กล้วยบนโลกนี้มีมากมายหลายชนิด แต่มีใครเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมข้าวต้มมัดถึงใช้เฉพาะกล้วยน้ำว้า นั่นก็เพราะว่า คนโบราณใช้ภูมิปัญญาอันหลักแหลม ในการทดลอง ใช้กล้วยอยู่หลายชนิด แต่ผลปรากฎออกมาว่า ต้องกล้วยน้ำว้าเท่านั้น เพราะเป็นกล้วยที่สุกยาก เมื่อนำมานึ่งกับข้าวเหนียวแล้วจะสุกพร้อมกันนั่นเอง แหม่ ไม่ธรรมดาจริง ๆ
แต่ไม่ใช่แค่วันเข้าพรรษาอย่างเดียวนะคะ ข้าวต้มมัดก็ยังสามารถนำมาทำบุญในวันออกพรรษาก็ได้เช่นเดียวกัน หรือที่เรียกว่า "ข้าวต้มลูกโยน" ที่เรามักจะได้ยินเมื่อถึงวันออกพรรษา มีชื่อเรียกหลายอย่างไม่แพ้ข้าวต้มมัดเลย ทั้งข้าวต้มโยน ข้าวต้มหาง ข้าวต้มลูกโยนซึ่งเป็นอีกหนึ่งผล ผลิตจากข้าวต้มมัด มาจากข้าวเหนียวที่เหลือ ๆ ตอนทำข้าวต้มมัด แต่ไม่มีไส้ มีแต่ข้าวเหนียวอย่างเดียว หรืออาจจะเป็นข้าวเหนียวผสมถั่วดำ แล้วนำไปห่อให้เป็นทรงรีด้วยใบ กะพ้อ หรือใบมะพร้าวให้สวยงาม แต่ไฮไลท์อยู่ที่หางยาว ๆ ที่ใช้ตอกหรือไม้ไผ่เหลาบาง ๆ มัดให้เป็นหาง ผูกเข้าด้วยกันเป็นพวง ๆ แล้วนำไปนึ่ง หรือต้มจนสุกนั่นเอง
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ใครเกิดอยากลองทำข้าวต้มมัดกินเอง วันนี้เราก็มีสูตรมาฝากด้วย เป็นข้าวต้มมัดไส้กล้วย มาให้ลองทำกันดูค่ะ
หมายเหตุ : ข้าวต้มมัด 1 มัด ให้พลังงานประมาณ 225 กิโลแคลอรี่

สิ่งที่ต้องเตรียม








วิธีทำ
.gif)
.gif)
.gif)
.gif)
.gif)
ถือว่าเป็นขนมไทยอีกหนึ่งอย่างที่มีประวัติความเป็นมาไม่ธรรมดาเลยทีเดียว รู้อย่างนี้แล้ว คนมีคู่ก็อย่าลืมซื้อข้าวต้มมัดไปทำบุญวันเข้าพรรษานี้กันด้วยนะจ๊ะ ความรักจะได้ยั่งยืนมัดติดกันไปเนิ่นนาน พูดแล้วก็อิจฉา !
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
wikipedia, vidview-loveyou, maylady