รู้ก่อนซื้อน้ำมันทำอาหาร แต่ละชนิดใช้ต่างกันอย่างไร มีข้อควรระวังอะไรบ้าง

เปิดลิสต์น้ำมันทำอาหาร แต่ละชนิดเหมาะสำหรับอาหารประเภทไหนบ้าง และมีข้อควรระวังในการใช้อย่างไร

น้ำมันทำอาหารมีหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ และน้ำมันเพื่อสุขภาพ แต่ละชนิดก็มีวิธีการใช้ต่างกัน วันนี้เรามาดูกันว่าน้ำมันแต่ละชนิดเลือกใช้กับเมนูอาหารอะไรได้บ้าง พร้อมข้อควรระวัง

วิธีเลือกซื้อน้ำมันทำอาหาร

1. น้ำมันปาล์ม (Palm Oil)

น้ำมันทำอาหาร

น้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชสกัดมาจากผลของต้นปาล์มน้ำมัน จุดเด่นคือจุดเกิดควันที่อุณหภูมิประมาณ 230 องศาเซลเซียส จึงทนความร้อนได้สูง ไม่เกิดควัน ไม่เหม็นหืนง่าย มีกรดไขมันอิ่มตัวมากกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ นิยมนำมาทำเมนูทอดที่ต้องใช้น้ำมันปริมาณมาก เช่น ไก่ทอด กุ้งชุบแป้งทอด กล้วยทอด เป็นต้น ทำให้อาหารมีสีสวยและมีความกรอบนาน แต่ทั้งนี้ถ้ากินของทอดเกินปริมาณที่พอดีอาจทำให้มีผลเสียต่อสุขภาพได้ 

2. น้ำมันถั่วเหลือง (Soybean Oil)

น้ำมันทำอาหาร

น้ำมันถั่วเหลืองเป็นน้ำมันพืชสกัดจากเมล็ดถั่วเหลือง มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวในระดับปานกลาง เหมาะสำหรับเมนูที่ใช้ไฟปานกลางหรือไม่ต้องใช้ไฟแรงมาก เช่น เมนูผัด รวมทั้งหมักเนื้อสัตว์ และยังเอาไปเป็นส่วนผสมในน้ำสลัด หรือขนม แต่ไม่ควรนำไปทอดหรือผ่านความร้อนจัดเป็นเวลานาน เพราะอาจเกิดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

3. น้ำมันมะกอก (Olive Oil)

น้ำมันมะกอก (Olive Oil)

น้ำมันมะกอกเป็นน้ำมันที่สกัดจากผลมะกอก ดีต่อสุขภาพ แบ่งออกได้หลายประเภท เช่น  น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ (Extra Virgin Olive Oil) เหมาะกับการทำเป็นน้ำสลัด น้ำมันมะกอกชนิด Pure Olive Oil เหมาะกับเมนูผัดต่าง ๆ น้ำมันมะกอกชนิด Light และ Extra light Olive Oil เมนูทั้งเมนูทอดและผัด 

4. น้ำมันรำข้าว (Rice Bran Oil)

น้ำมันทำอาหาร

น้ำมันรำข้าวสกัดมาจากรำข้าวและจมูกข้าว ผ่านกระบวนการกลั่นหรือกรองเพื่อเป็นของเหลว ดีต่อสุขภาพ เหมาะกับอาหารประเภททอดหรือผัด เนื่องจากไขมันในน้ำมันจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างได้ง่ายเมื่อผ่านอุณหภูมิสูง ทำให้ไม่เกิดสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมทั้งทำน้ำสลัดหรือขนมได้อีกด้วย

5. น้ำมันมะพร้าว (Coconut Oil)

น้ำมันทำอาหาร

น้ำมันมะพร้าวที่ใช้ปรุงอาหารควรเลือกชนิดสกัดเย็น เนื่องจากไม่เติมสารเคมีและไฮโดรเจน มีจุดเกิดควันที่อุณหภูมิประมาณ 180 องศาเซลเซียส ดังนั้น จึงทนความร้อนได้สูง เหมาะกับเมนูทอด ทำให้ของทอดไม่อมน้ำมัน ไม่มีกลิ่นหืน หรือเมนูผัด รวมทั้งกินสด หรือนำไปทำน้ำสลัด ทำขนมก็ได้

6. น้ำมันดอกทานตะวัน (Sunflower Oil)

น้ำมันทำอาหาร

น้ำมันดอกทานตะวัน สกัดได้จากเมล็ดของดอกทานตะวัน เป็นน้ำมันเพื่อสุขภาพ ไม่สามารถทนกับความร้อนได้นาน เหมาะสำหรับการนำมาผัด หรือทำน้ำสลัด รวมทั้งทำเบเกอรี่ก็สามารถนำไปทำขนมได้เช่นกัน

7. น้ำมันคาโนลา (Canola Oil)

น้ำมันทำอาหาร

น้ำมันคาโนลา ซึ่งเป็นน้ำมันที่สกัดจากต้นคาโนลา เป็นน้ำมันเพื่อสุขภาพ เหมาะสำหรับการทำอาหารประเภทผัด ทำน้ำสลัด และหมักเนื้อสัตว์

8. น้ำมันหมู

น้ำมันทำอาหาร

น้ำมันหมูเป็นน้ำมันที่ได้จากไขมันของสัตว์ซึ่งเป็นวิธีธรรมชาติ เหมาะกับการนำมาทำอาหารเมนูทอด จุดเกิดควันที่อุณหภูมิประมาณ 205 องศาเซลเซียส จึงทนความร้อนได้สูง ไม่เกิดควัน มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง หากตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องจะเป็นไขได้ง่าย เมื่อเจออากาศเย็นก็จะยิ่งเป็นไขเร็วและมีกลิ่นหืน แต่เนื่องจากมีคอเลสเตอรอลสูง ถ้าใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจ

มาถึงตรงนี้เชื่อว่าหลายคนคงตัดสินใจเลือกซื้อน้ำมันทำอาหารได้อย่างมั่นใจกันแล้ว คราวนี้ก็ไปเลือกยี่ห้อที่ชอบกันได้เลยจ้า

บทความเกี่ยวกับน้ำมันยี่ห้อต่าง ๆ ที่น่าสนใจ

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
รู้ก่อนซื้อน้ำมันทำอาหาร แต่ละชนิดใช้ต่างกันอย่างไร มีข้อควรระวังอะไรบ้าง โพสต์เมื่อ 28 เมษายน 2568 เวลา 17:02:42
TOP
x close