อาหารต้านโควิด 19 เสริมภูมิคุ้มกันลดความเสี่ยงทำง่าย ๆ ที่ครัวบ้าน

          ไหน ๆ โควิด 19 ก็จะยังคงอยู่กับเราไปอีกนาน อยากชวนทุกคนมาทำอาหารต้านโควิด 19 กินกันเองที่บ้านง่าย ๆ มีทั้งพืชผักสมุนไพรและผลไม้ต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทาน ลดความเสี่ยงติดไวรัสได้อีกด้วย
อาหารต้านโควิด 19

          พืชสมุนไพร ผัก และผลไม้บางชนิดมีส่วนช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน มีวิตามินซีหรือสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดการติดเชื้อไวรัสหรือช่วยลดความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงได้ อย่างเช่น พลูคาว ผลไม้ตระกูลส้ม หอมแดง มะรุม ขมิ้นชัน กะเพรา เป็นต้น กระปุกดอทคอมอยากชวนทุกคนมาทำอาหารต้านโควิด 19 เพื่อเป็นการดูแลตัวเองจากภายใน และถ้าหากออกไปที่ชุมชนแออัดควรใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ รวมทั้งใช้เจลแอลกอฮอล์ด้วยนะคะ
หอมแดงและหอมใหญ่
          พืชผักสมุนไพรในครัวที่ใช้ในการบรรเทาหวัดคัดจมูกมาแต่โบราณ รวมทั้งยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่ดีเช่นกัน ใครสนใจอยากทำเมนูอาหารที่มีส่วนผสมของทั้งคู่มีมาแนะนำด้วยนะคะ (คลิกอ่าน 5 ประโยชน์ของหัวหอม)

1. ยำปลาสลิด

อาหารต้านโควิด 19

สูตรจาก คุณ sandy_sine สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม

          สำหรับยำปลาสลิดสูตรนี้ใส่ทั้งหอมแดงและหอมใหญ่เลยค่ะ ที่ขาดไมได้เลยคือเนื้อปลาสลิดทอดกรอบ ๆ ถ้าใครจะซื้อปลาสลิดทอดสำเร็จมายำก็ได้เช่นกัน เพิ่มความเปรี้ยวจากมะม่วง

ส่วนผสม ยำปลาสลิด

  • ปลาสลิด
  • หอมหัวใหญ่
  • หอมแดง
  • พริกแดง
  • ขิง
  • ถั่วตามชอบ (ในสูตรใช้ถั่วปากอ้า)
  • ขึ้นฉ่าย
  • กุ้งแห้ง
  • มะม่วงเปรี้ยว

ส่วนผสม น้ำยำ

  • มะนาว
  • น้ำปลา (ใส่นิดเดียว เนื่องจากปลาสลิดเค็มแล้ว)
  • น้ำตาลทราย
  • ผงชูรสนิดหน่อย

วิธีทำยำปลาสลิด

     1. เอาปลาสลิดมาล้างให้สะอาดหลาย ๆ น้ำเพื่อลดความเค็ม จากนั้นให้นำมาบั้งทั้งตัว ทอดให้เหลืองกรอบ นำมาแกะออกจากก้างเอาแต่เนื้อ นำกลับไปทอดอีกครั้งเพื่อให้เหลืองกรอบ และหั่นเครื่องเคียงที่จะมาใช้กินแกล้มกับปลาสลิดให้เรียบร้อย
     2. ทำน้ำยำโดยใส่มะนาว น้ำปลา น้ำตาลทราย และผงชูรสนิดหน่อย คลุกเคล้าให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ เน้นย้ำว่า น้ำปลานิดเดียว ไม่เช่นนั้นจะเค็มมาก เพราะปลาสลิดเค็มอยู่แล้ว
     3. เมื่อเตรียมทุกอย่างเสร็จแล้ว นำทุกอย่างมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน จัดใส่จาน
 

ดูวิธีทำ ยำปลาสลิด เพิ่มเติมคลิก

2. ยำส้มโอ

อาหารต้านโควิด 19

          ส้มโอกินเปล่า ๆ จนเบื่อ ลองจับเอามาทำเมนูยำส้มโอเป็นอาหารคาวอิ่มไปอีกมื้อกันดีไหม ใส่หอมเจียวอาหารต้านโควิด 19 และใส่โปรตีนจากอกไก่และกุ้ง มาพร้อมน้ำยำน้ำพริกเผา

ส่วนผสม ยำส้มโอ

  • กุ้งต้มสุก
  • อกไก่ต้มฉีกเป็นเส้น
  • พริกขี้หนูแห้งคั่ว
  • มะพร้าวขูดคั่วป่น
  • กุ้งแห้ง (กุ้งฝอยคั่วกรอบ หรือกุ้งแห้งป่น)  
  • ถั่วลิสงคั่วบุบหยาบ
  • หอมเจียว
  • กระเทียมเจียว

ส่วนผสม น้ำยำ

  • หัวกะทิ
  • น้ำเปล่า
  • น้ำตาลปี๊บ
  • น้ำปลา
  • น้ำมะขามเปียก
  • น้ำพริกเผา
  • น้ำมะนาว

วิธีทำยำส้มโอ

     1. เคี่ยวกะทิให้เดือดปุด ๆ แต่ไม่ต้องให้แตกมัน พักทิ้งไว้ให้เย็น
     2. ทำน้ำยำโดยตั้งหม้อ ใส่น้ำเปล่า น้ำตาลปี๊บ น้ำปลา น้ำมะขามเปียก น้ำมะนาว และน้ำพริกเผา เคี่ยวจนละลาย เติมกะทิลงไป คนผสมให้เข้ากัน พักไว้
     3. ใส่ส้มโอในชามผสม ใส่พริกขี้หนูแห้งคั่ว มะพร้าวขูดคั่วป่น กุ้งแห้ง ถั่วลิสงคั่วบุบหยาบ หอมเจียว และกระเทียมเจียว เทน้ำยำลงไป ใส่เนื้อไก่ฉีกและกุ้งต้มสุก คลุกเคล้าให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ จัดใส่จาน
 

ดูวิธีทำ ยำส้มโอ เพิ่มเติมคลิก

มะรุม
           เป็นผักพื้นบ้าน ผลลักษณะเป็นฝักกลมยาวสีเขียว ภายในมีเมล็ดอ่อน ๆ เป็นผักที่มีวิตามินซีสูง ส่วนใหญ่จะเอามาทำแกงส้มมะรุมกัน (คลิกอ่าน ใบมะรุม สรรพคุณสุดเด็ด จัดว่าเป็นซูเปอร์ฟู้ด)

3. แกงส้มมะรุม

อาหารต้านโควิด 19

          แม้ว่าแกงส้มมะรุมจะกินยากกว่าแกงส้มผักอื่น ๆ แต่ถ้าได้กินก็เพลินดีนะคะ สูตรนี้ใช้น้ำพริกแกงส้มสำเร็จรูปหรือใครจะโขลกเองก็ได้ เพิ่มเติมกุ้งสดเคี้ยวเด้ง ๆ กินกับข้าวสวยโปะไข่เจียวยิ่งอร่อยค่ะ

ส่วนผสม แกงส้มมะรุม

  • มะรุม
  • กุ้งสด
  • พริกแกงส้ม
  • เกลือป่น
  • น้ำมะขามเปียก
  • น้ำปลา
  • น้ำตาลปี๊บ
  • น้ำปลา

วิธีทำแกงส้มมะรุม

     1. ตัดขั้วและปลายฝักมะรุม ผ่าครึ่งปอกเปลือก หั่นท่อน ล้างน้ำให้สะอาด
     2. ตั้งน้ำในหม้อ พอน้ำเดือดใส่พริกแกงส้ม เติมเกลือป่น ใส่มะรุม ต้มจนมะรุมสุกนิ่ม ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก น้ำปลา และน้ำตาลปี๊บ รอน้ำตาลละลาย ชิมรสชาติตามชอบ ใส่กุ้งสด พอสุกปิดไฟ
ขมิ้นชัน
          สมุนไพรสีเหลือง สามารถนำไปประกอบอาหาร แต่งสี หรือแต่งกลิ่น แถมยังมีสรรพคุณแก้ท้องอืด จุกเสียด ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา รวมถึงกระตุ้นภูมิคุ้มกันโควิด 19 ด้วย นอกจากนี้ยังมีสารอาหารหลายชนิด ทั้งวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และเกลือแร่ต่าง ๆ ใครสนใจอยากเอามาทำอาหารขอแนะนำไก่ต้มขมิ้น (อ่าน ขมิ้นชัน สมุนไพรชั้นเลิศ ช่วยดูแลสุขภาพ คลิก)

4. ไก่ต้มขมิ้น

อาหารต้านโควิด 19

สูตรจาก คุณสมาชิกหมายเลข 2333744 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม

          คุณแม่ที่อยากทำเมนูอาหารต้านโควิด 19 ใส่ขมิ้นให้ลูกรัก อยากให้ลองทำเมนูไก่ต้มขมิ้น ไม่ต้องใส่พริกตามสูตรก็ได้นะคะ เพิ่มรสเปรี้ยวจากส้มแขก มีความหอมจากเครื่องสมุนไพร

ส่วนผสม ไก่ต้มขมิ้น

  • น้ำสะอาด 1 ลิตร
  • กระเทียมบุบพอแตก 2 กลีบ
  • หอมแดงซอย 2-3 หัว
  • ตะไคร้หั่นท่อนทุบ 2 ต้น
  • เนื้อไก่ (ปีก อก น่อง หรือเครื่องใน ใส่ได้ตามใจชอบ) 500 กรัม
  • เกลือ ประมาณ 2 ช้อนชา
  • ส้มแขก 4-5 ชิ้น
  • ใบมะกรูดฉีก 4-5 ใบ (ในสูตรไม่ใส่)
  • ขมิ้นชันบุบพอแตก 2-3 อัน
  • พริกสด 4-5 เม็ด (ไม่ต้องทุบ ไม่ต้องซอยอะไรเลย)

วิธีทำไก่ต้มขมิ้น

     1. ใส่น้ำลงหม้อ ตั้งไฟรอจนเดือด ใส่กระเทียม หอมแดง และตะไคร้ รอน้ำเดือดอีกรอบ ใส่เนื้อไก่ลงไป และรอให้เดือดอีกครั้ง
     2. ปรุงรสด้วยเกลือ และส้มแขก เมื่อได้รสชาติที่ชอบแล้ว ใส่ขมิ้นชันและพริกลงไป (อย่าลืมตักส้มแขกออกนะ เพราะยิ่งต้มจะยิ่งเปรี้ยว) ต้มจนได้สีเหลืองอ่อนก็ยกลงจากเตา พร้อมเสิร์ฟ
 

ดูวิธีทำ ไก่ต้มขมิ้น เพิ่มเติมคลิก

5. ปลากระบอกทอดขมิ้น

อาหารต้านโควิด 19

สูตรจาก คุณมอแกนน้อย สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม

          ใครชอบกินปลาอยากให้ลองทำเมนูปลากระบอกทอดขมิ้น ส่วนผสมหลัก ๆ มีขมิ้นกับกระเทียม ปรุงรสด้วยพริกไทยกับเกลือหน่อย เอาไปหมักกับปลาแล้วทอดจนสุก

ส่วนผสม ปลากระบอกทอดขมิ้น

  • ปลากระบอก
  • เกลือ 1/2 ช้อน (ช้อนกินข้าว)
  • กระเทียมหัวใหญ่ 5 หัว
  • พริกไทย 1 ช้อน (ช้อนกินข้าว)
  • ขมิ้น 3 แง่ง

วิธีทำปลากระบอกทอดขมิ้น

     1. ขอดเกล็ดปลาควักไส้พุง และโขลกกระเทียม พริกไทย เกลือ และขมิ้น เสร็จแล้วใส่ลงไปคลุกเคล้ากับปลา หมักทิ้งไว้ราว 1 ชั่วโมง
     2. ตั้งกระทะพอน้ำมันร้อนไม่จัดมาก ใส่กระเทียมกับขมิ้นลงไปทอดด้วยไฟอ่อน แยกกากและน้ำมันออกด้วยกระชอนตาถี่ผึ่งกระจายเกลี่ยให้คลายร้อน ซับด้วยกระดาษ เมื่อเย็นลงก็จะกรอบพอดี
     3. เอาน้ำมันที่กรองแล้วกลับมาใส่กระทะใหม่ เพิ่มอุณหภูมิให้ร้อนกว่าครั้งแรก สังเกตว่าฟองไม่มีก็ใส่ปลาลงทอดได้เลย พอสุกจัดใส่จานโรยกระเทียมขมิ้น
 

ดูวิธีทำ ปลากระบอกทอดขมิ้น เพิ่มเติมคลิก

กะเพรา
          เป็นผักสมุนไพรที่หลายคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี สรรพคุณช่วยขับลม บรรเทาอาการจุกเสียดแน่นท้อง ช่วยย่อยอาหาร ช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันอาการหวัด และลดโอกาสการติดเชื้อโควิด 19 ได้ (อ่าน กะเพรา โหระพา พืชสวนครัวกับคุณประโยชน์อันหอมหวานคลิก)

6. ผัดกะเพราเนื้อไข่ดาว

อาหารต้านโควิด 19

          แม้ว่าใครจะเบื่อเมนูผัดกะเพราแต่อยากให้กินเพราะมีสารเสริมภูมิคุ้มกันโควิด 19 ขอยกตัวอย่างผัดกะเพราเนื้อ ถ้าใครไม่กินเนื้อก็เปลี่ยนเป็นหมู ไก่ เป็ด ปลา หรือเต้าหู้ก็ได้ กินกับไข่ดาวสักฟองก็ฟินแล้ว

ส่วนผสม ผัดกะเพราเนื้อ

  • เนื้อสับ หรือเนื้อหั่นชิ้น
  • น้ำเปล่า
  • น้ำมันหอย
  • น้ำปลา
  • น้ำตาลทราย
  • กระเทียม
  • พริกสด
  • ใบกะเพรา

วิธีทำผัดกะเพราเนื้อ

     1. ทำน้ำปรุงรสโดยผสมน้ำเปล่า น้ำมันหอย น้ำปลา และน้ำตาลทราย คนผสมให้เข้ากัน เตรียมไว้
     2. โขลกกระเทียมกับพริกพอแหลก
     3. ตั้งกระทะใส่น้ำมัน พอน้ำมันร้อนใส่เครื่องโขลกลงไปผัดจนมีกลิ่นหอม ใส่เนื้อวัวลงไป ผัดพอสุก ใส่น้ำปรุงลงไป ผัดจนเนื้อสุก ชิมรสชาติตามชอบ ใส่ใบกะเพรา ปิดเตา ผัดเบา ๆ พอเข้ากัน ตักเสิร์ฟ
 

ดูวิธีทำ ผัดกะเพราเนื้อ เพิ่มเติมคลิก

7. ไข่เจียวกะเพรา

อาหารต้านโควิด 19

สูตรจาก นิตยสารแม่บ้าน

          ไข่เจียวหมูสับก็อร่อย แต่ถ้าใส่ใบกะเพราอาหารต้านโควิด 19 เพิ่มความเผ็ดร้อนก็คงจะดีไม่น้อย ใครยังไม่เคยลองขอนำเสนอไข่เจียวกะเพรา ใส่กระเทียม พริก และพริกไทยป่น ปรุงรสด้วยซอสหอยนางรม

ส่วนผสม ไข่เจียวกะเพรา

  • ไข่เป็ด 3 ฟอง
  • หมูสับ 50 กรัม
  • ใบกะเพราซอยหยาบ 1/4  กรัม
  • กระเทียมสับ 1 ช้อนชา
  • พริกขี้หนูซอย 1 ช้อนโต๊ะ
  • ซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ
  • พริกไทยป่น 1/4 ช้อนชา
  • น้ำมันพืช (สำหรับทอด)
  • ข้าวสวย

วิธีทำไข่เจียวกะเพรา

     1. ตีไข่เป็ดผสมหมูสับ ใบกะเพรา กระเทียม พริกขี้หนู ปรุงรสด้วยซอสหอยนางรมและพริกไทยป่นคนให้เข้ากัน
     2. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืชพอร้อน ใส่ส่วนผสมไข่ลงทอดให้สุกเหลืองทั้งสองด้าน ตักขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำมัน จัดใส่ภาชนะ เสิร์ฟพร้อมข้าวสวย
 

ดูวิธีทำ ไข่เจียวกะเพรา เพิ่มเติมคลิก

ธัญพืช
          มีสารสำคัญช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส มีสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยธัญพืชเอามาทำอาหารได้หลายหลาย รวมทั้งอาหารว่างและเครื่องดื่ม (อ่าน สุดยอด 5 ธัญพืชสุดไฉไล ของดีแบบไทย ๆ ที่อยากให้คุณได้ลอง คลิก)

8. คุกกี้ธัญพืช

อาหารต้านโควิด 19

สูตรจาก คุณ Little Pastry Chef สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม

           ใครกลัวอ้วนแต่อยากกินขนมมาลองทำเมนูคุกกี้ธัญพืชไร้แป้งสูตรนี้กัน ใส่ธัญพืชหลากชนิดและมีผลไม้อบแห้งด้วย ทำเป็นชิ้นบาง ๆ ยิ่งกรอบ

ส่วนผสม คุกกี้ธัญพืชไร้แป้ง (ประมาณ 18-19 ชิ้น)

  • อัลมอนด์สไลซ์ 70 กรัม
  • ข้าวโอ๊ต (จัมโบ้) 45 กรัม
  • เกลือเล็กน้อย
  • มะพร้าวอบแห้ง 20 กรัม
  • เมล็ดฟักทอง 35 กรัม
  • น้ำมันมะพร้าว 1+1/2 ช้อนโต๊ะ
  • ไข่ขาว (หนัก 35 กรัม) 1 ฟอง
  • น้ำตาลทราย 30 กรัม
  • เมล็ดเจีย 10 กรัม
  • แครนเบอร์รีอบแห้ง 45 กรัม

วิธีทำคุกกี้ธัญพืชไร้แป้ง

     1. นำอัลมอนด์ ข้าวโอ๊ต มะพร้าวอบแห้ง เกลือ และเมล็ดฟักทองใส่ลงในชามอ่าง คนให้ผสมกัน เทน้ำมันมะพร้าว คนให้ทั่ว เทใส่ถาดอบ เกลี่ยให้ทั่วถาด นำไปอบที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ประมาณ 10 นาที นำออกจากเตา พักทิ้งไว้ให้เย็น
     2. นำส่วนผสมไข่ขาวมาใส่ในชามอ่างแล้วตีจนขึ้นฟองหยาบ ใส่น้ำตาลทรายลงไป ตีให้น้ำตาลทรายละลายดี
     3. นำส่วนผสมถั่วที่เย็นแล้วเทลงไปผสมกับส่วนผสมไข่ขาว
     4. นำเมล็ดเจียและแครนเบอร์รีอบแห้งมาใส่ในส่วนผสมไข่ขาว คนให้ไข่ขาวเคลือบส่วนผสมของถั่วและผลไม้อบแห้ง ตักลงในถาดอบที่มีกระดาษรองอบที่เตรียมไว้แล้ว โดยตักส่วนผสม 1 ช้อนโต๊ะต่อคุกกี้ 1 ชิ้น หลังจากนั้นกดคุกกี้ให้แบนและกลม
     5. นำไปอบที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ประมาณ 15-20 นาที หรือจนขอบคุกกี้เริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทอง แล้วนำออกเตาอบ พักให้เย็นก่อนเสิร์ฟได้
 

ดูวิธีทำ คุกกี้ธัญพืช เพิ่มเติมคลิก

9. น้ำถั่ว 5 สี

อาหารต้านโควิด 19

          อย่างที่รู้กันดีว่าถั่วเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญ เพิ่มไขมันดี ยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งบางอย่าง ลดโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูง และเพิ่มภูมิต้านทานเชื้อโรคให้กับร่างกาย ถ้าเบื่อเคี้ยวถั่วจนเมื่อยปากก็ลองจับมาทำเครื่องดื่มบ้างก็ดีเหมือนกันนะคะ

ส่วนผสม น้ำถั่วดำ

  • ถั่วดำดิบ 1 กิโลกรัม
  • น้ำเปล่า 2 ลิตร
  • น้ำตาลทรายแดง 1 ถ้วย (หรือตามชอบ)

วิธีทำน้ำถั่วแดง

     1. ล้างถั่วดำในน้ำจนสะอาด 2-3 ครั้ง แช่น้ำทิ้งไว้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง หรือข้ามคืนจนเม็ดถั่วนิ่ม ล้างทำความสะอาดอีกครั้ง สะเด็ดน้ำเตรียมไว้
     2. นำถั่วดำที่แช่แล้วไปปั่นกับน้ำจนละเอียด จากนั้นกรองด้วยตะแกรงหรือผ้าขาวบาง เอาเฉพาะน้ำ  
     3. ใส่น้ำถั่วดำลงในหม้อ เปิดไฟอ่อน ต้มจนเดือด (หมั่นคนไม่ให้ไหม้ที่ก้นหม้อ) เติมน้ำตาลทรายแดงลงไป คนผสมจนเข้ากัน เทใส่แก้ว พร้อมดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น
 

ดูวิธีทำ น้ำถั่ว 5 สี เพิ่มเติมคลิก

เห็ด
           มีสารสำคัญคือเบต้ากลูแคนที่ช่วยฟื้นฟูเม็ดเลือดขาว สร้างภูมิคุ้มกัน ลดการเกิดโรคต่าง ๆ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากโรคร้ายแรง เช่น เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า เห็ดออรินจิ เห็ดหลินจือ เป็นต้น ใครอยากทำเมนูอาหารต้านโควิด 19 จากเห็ดลองมาทำสลัดเห็ดหรือต้มเห็ดสมุนไพรกัน (อ่าน ประโยชน์ของเห็ด 7 ชนิด คลิก)

10. สลัดเห็ดออรินจิย่าง

อาหารต้านโควิด 19

สูตรจาก คุณ Angelisa สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม

           แอบบอกว่าเมนูสลัดเห็ดออรินจิย่างมีส่วนผสมน้อยและง่ายมาก ๆ แค่มีเห็ดกับผักสลัด ส่วนน้ำสลัดชอบแบบไหนก็ทำหรือซื้อไว้รอเลยค่ะ ถ้าไม่ชอบเห็ดย่างก็เอาไปชุบแป้งทอดจนกรอบก็อร่อยไปอีกแบบนะคะ

ส่วนผสม สลัดเห็ดย่าง

  • เห็ดออรินจิซอยบาง ๆ
  • ผักสลัด ตามชอบ
  • น้ำสลัดน้ำมันงาซีอิ๊วญี่ปุ่น

วิธีทำสลัดเห็ดย่าง

  • นำเห็ดออรินจิไปกริลล์ในกระทะเทฟลอนจนสุก จัดใส่จาน เสิร์ฟพร้อมผักสลัดตามชอบ ราดน้ำสลัดน้ำมันงาซีอิ๊วญี่ปุ่น
     

ดูวิธีทำ สลัดเห็ดออรินจิย่าง เพิ่มเติมคลิก

11. ต้มเห็ดสมุนไพร

อาหารต้านโควิด 19

สูตรจาก คุณเนินน้ำ อาหารง่าย ๆ ที่บ้านเนินน้ำ

          มื้อเย็นชวนทำต้มเห็ดสมุนไพร อาหารต้านโควิด 19 ใส่เห็ดฟางและสมุนไพรไล่หวัด ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำมะขามเปียก ซีอิ๊วขาว และเกลือ

ส่วนผสม ต้มเห็ดสมุนไพร

  • น้ำ 4 ถ้วย
  • หอมแดงทุบ 5 หัว
  • ตะไคร้ 4 ต้น (หั่นเป็นท่อนแล้วทุบ)
  • กระเทียมกลีบใหญ่ 5 กลีบ
  • เห็ดฟาง (ดอกตูม) 200 กรัม
  • มะขามเปียก (ทั้งรก) 2 ฝัก
  • ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลปี๊บ 1 ช้อนชา
  • เกลือสมุทร 1/4 ช้อนชา
  • ใบโหระพา (เด็ดเป็นใบ) 1/2 ถ้วย
  • ใบกะเพรา (เด็ดเป็นใบ) 1/2 ถ้วย
  • ผักชีฝรั่งซอย 1/4 ถ้วย
  • พริกแห้งทอด 3 เม็ด

วิธีทำต้มเห็ดสมุนไพร

     1. ใส่น้ำลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟปานกลาง พอน้ำเดือดใส่หอมแดง ตะไคร้ และกระเทียมลงไปต้มสักครู่จนมีกลิ่นหอม
     2. ใส่เห็ดฟางลงไปต้มจนสุกประมาณ 5 นาที ปรุงรสด้วยมะขามเปียก น้ำตาลปี๊บ และซีอิ๊วขาว คนผสมให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ (ให้เปรี้ยวกลมกล่อม)
     3. ใส่โหระพา ใบกะเพรา ผักชีฝรั่ง และพริกแห้งทอดลงไป ปิดไฟ ตักใส่ถ้วย แต่งด้วยยอดใบกะเพรา
 

ดูวิธีทำ ต้มเห็ดสมุนไพร เพิ่มเติมคลิก

ขิง
          สมุนไพรรสเผ็ดร้อน มีสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ลดอาการท้องอืด รักษาอาการไขข้ออักเสบ ลดอาการไอ ยับยั้งเชื้อไวรัส ขอยกตัวอย่างเมนูขิงดองและเต้าฮวยน้ำขิงสุดง่ายกัน (อ่าน ขิง ประโยชน์และโทษที่คุณอาจคาดไม่ถึง คลิก)

12. ขิงดองสีชมพู

อาหารต้านโควิด 19

          แค่มีข้าวต้มกับขิงดองสีชมพู เพียงเท่านี้ก็อิ่มแล้ว หรือจะกินแกล้มกับเป็ดย่าง ซูชิก็ได้ ขั้นตอนทำไม่ยาก เริ่มจากทำน้ำดองขิง พอเสร็จก็ใส่ขิงลงไป บีบน้ำมะนาวเพื่อให้เป็นสีชมพู เอาไปแช่เย็นยิ่งอร่อย

ส่วนผสม ขิงดอง

  • ขิงอ่อน 1 กิโลกรัม
  • น้ำเปล่าผสมเกลือ (สำหรับแช่ขิงและล้างความเผ็ดออกจากขิง)
  • น้ำส้มสายชู 1 ถ้วย
  • น้ำตาลทราย 400 กรัม (เพิ่ม-ลดได้ตามชอบ)
  • เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำเปล่า 1/2 ถ้วย
  • มะนาว 1 ลูก

วิธีทำขิงดอง

     1. ปอกเปลือกขิงออกแล้วซอยเป็นแว่นบาง ๆ นำไปแช่ในน้ำเกลือ พักทิ้งไว้ (เคล็ดลับคือ ถ้าเป็นขิงแก่ต้องคั้นและบีบกับน้ำเกลือหลาย ๆ ครั้งจนขิงหายเผ็ด)
     2. เคี่ยวน้ำส้มสายชู น้ำตาลทราย เกลือ และน้ำเปล่าเข้าด้วยกันจนเดือดและน้ำตาลทรายละลาย ปิดไฟ พักทิ้งไว้จนอุ่น
     3. บีบน้ำเกลือจากขิงออกให้หมดแล้วใส่ลงไปในส่วนผสมน้ำดองขิง คนให้เข้ากัน บีบน้ำมะนาวลงไป 1 ลูก (ขั้นตอนนี้ขิงจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน ๆ) คนให้เข้ากัน เก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด (ถ้าเป็นขิงอ่อนสามารถกินได้เลยทันที หรือจะแช่ตู้เย็นไว้ประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนเพื่อความอร่อยมากยิ่งขึ้น)
 

ดูวิธีทำ ขิงดองสีชมพู เพิ่มเติมคลิก

13. เต้าฮวยน้ำขิง

อาหารต้านโควิด 19

            ถ้าเต้าฮวยน้ำขิงที่ขายตามร้านน้ำเต้าหู้รสชาติไม่ถูกปาก อยากให้ลองทำกินเองเลยค่ะ ใช้ขิงแก่เผาไฟต้มกับน้ำเปล่า เติมน้ำตาล มาพร้อมวิธีทำเต้าฮวย

ส่วนผสม เต้าฮวย

  • เต้าหู้นิ่ม 1 ถ้วย
  • น้ำตาลทรายแดง 80 กรัม
  • สารให้ความคงตัว (seg) 2 กรัม
  • น้ำตาลเดกซ์โตรส 40 กรัม
  • มอลโตเดกซ์ตริน 40 กรัม
  • เกลือ 1 กรัม

ส่วนผสม น้ำขิง

  • น้ำเปล่า 5 ถ้วย
  • ขิงแก่เผาไฟ 3-4 ชิ้น
  • น้ำตาลอ้อย 1 ถ้วย
  • เกลือ 1/2 ช้อนชา

วิธีทำเต้าฮวยน้ำขิง

     1. นำเต้าหู้นิ่ม น้ำตาลทรายแดง สารให้ความคงตัว (seg) เดกซ์โตรส มอลโตเดกซ์ตริน และเกลือใส่อ่างผสมใช้ตะกร้อมือคนให้เข้ากัน
     2. เทน้ำร้อนลงไปคนให้เข้ากัน นำไปตั้งไฟอ่อน ๆ ให้พอควันขึ้นก็ยกลง เพื่อให้สารคงตัวละลาย
     3. ต้มน้ำให้เดือด ใส่ขิงลงไป ตามด้วยน้ำตาลอ้อยแล้วปล่อยให้เดือดสัก 5 นาที ยกลง เตรียมไว้
     4. ตักเต้าฮวยใส่ถ้วย เทน้ำขิงลงไปตามชอบ พร้อมเสิร์ฟ
 

ดูวิธีทำ เต้าฮวยน้ำขิง เพิ่มเติมคลิก

ข่า
          พืชสมุนไพรนำมาประกอบอาหารมาช้านาน มีกลิ่นหอมฉุน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ช่วยให้ระบบหลอดเลือดทำงานได้ดี บรรเทาอาหารหวัด คัดจมูก มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน เมนูอันดับต้น ๆ ที่มีส่วนประกอบของข่านั่นคือ ต้มข่าไก่ (อ่าน ประโยชน์ของข่า สมุนไพร ยาดีคู่ครัวไทย คลิก)

14. ต้มข่าไก่

อาหารต้านโควิด 19

สูตรจาก คุณ Rins CookBook

          ใครเอียนกับต้มข่าไก่สีจืดชืด ลองมาทำตามสูตรนี้กัน ความพิเศษนอกจากใส่สมุนไพรไทยต้านโควิด 19 แล้วยังเพิ่มสีสันจากน้ำพริกเผา และพริกขี้หนู

ส่วนผสม ต้มข่าไก่

  • เนื้ออกไก่หั่นเต๋า 6 ออนซ์ (หรือใช้อาหารทะเลอื่น ๆ ก็ได้ตามชอบ)
  • น้ำซุปไก่ หรือน้ำเปล่า 1+1/2 ถ้วย
  • ข่าหั่นเป็นแว่น 3-4 แว่น
  • ตะไคร้ซอยบาง ๆ 1 ต้น
  • ใบมะกรูด 2 ใบ
  • น้ำปลา 1/3 ถ้วย
  • น้ำตาลทราย 3+1/2 ช้อนโต๊ะ
  • กะทิ 1+1/2 ถ้วย
  • เห็ด (ตามชอบ) 1/2 ถ้วย
  • น้ำมะนาว (หรือน้ำเลมอน) 1/3 ถ้วย
  • น้ำมันน้ำพริกเผา 1-2 ช้อนโต๊ะ
  • พริกขี้หนูสด ประมาณ 4 เม็ด
  • ต้นหอม 1 ต้น
  • ผักชี 1/2 ถ้วย

วิธีทำต้มข่าไก่

     1. ใส่น้ำซุปไก่ (หรือน้ำเปล่า) ลงในหม้อ ตามด้วยข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และก้านผักชีที่ซอยเตรียมไว้ลงไป นำขึ้นตั้งไฟปานกลาง ต้มประมาณ 5-6 นาทีจนน้ำเดือดและหอม
     2. ใส่เนื้ออกไก่ลงไป ปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำตาลทราย (จะยังไม่ใส่กะทิลงไปในขั้นตอนนี้ เพราะถ้าต้มกะทินาน ๆ กะทิจะแตกมันและไม่สวยงาม) ต้มจนเดือด ประมาณ 5-6 นาที เมื่อต้มจนไก่สุกขาวแล้ว ใส่กะทิลงไปใส่เห็ดที่เตรียมไว้ลงไป รอจนเดือดอีกครั้ง
     3. ใส่น้ำมะนาวลงในหม้อหรือชาม ตามด้วยพริกที่ทุบไว้ น้ำมันน้ำพริกเผา พริกขี้หนูสด และต้นหอมผักชีซอย จากนั้นตักส่วนผสมต้มข่าไก่ลงไป ตกแต่งให้สวยงาม พร้อมเสิร์ฟ
 

ดูวิธีทำ ต้มข่าไก่ เพิ่มเติมคลิก

กระเทียม
          ลดไขมัน ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ลดอาการแน่นท้อง จุกเสียด บรรเทาอาการหวัด มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านทานเชื้อไวรัส โดยปกติเรามักนำกระเทียมมาเจียวประกอบอาหารกัน หรือไม่ก็โรยหน้าก๋วยเตี๋ยว (อ่าน 9 ประโยชน์เพื่อสุขภาพของกระเทียม ที่คุณอาจคาดไม่ถึง ! คลิก)

15. เห็ดผัดเนยกระเทียม

อาหารต้านโควิด 19

สูตรจาก คุณ Panda-chan สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม

          เมนูเห็ดผัดเนยกระเทียมใครก็ทำได้ ความพิเศษคือ หั่นกระเทียมเป็นชิ้นบาง ๆ เอาไปผัดกับเห็ดและเนยจนหอม จะใช้เห็ดอะไรก็ตามชอบเลยนะคะ

ส่วนผสม เห็ดผัดเนยกระเทียม

  • กระเทียม 25 กรัม
  • น้ำมันพืช 1/2 ช้อนชา
  • เนย 1 ช้อนโต๊ะ
  • เห็ดออรินจิ 280 กรัม
  • ซอสผัดญี่ปุ่น 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมันหอย 1/2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนชา
  • พริกไทยป่น 1/2 ช้อนชา

วิธีทำเห็ดผัดเนยกระเทียม

     1. หั่นกระเทียมให้เป็นชิ้นบาง ๆ และใช้กระดาษทิชชูหรือผ้าเปียกหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาดเห็ด (อย่าล้างเห็ดเพราะเห็ดจะเสียรสชาติ) และหั่นเป็นชิ้นตามความชอบ
     2. ตั้งกระทะใช้ไฟปานกลาง ใส่น้ำมันและเนยลงไป แล้วตามด้วยกระเทียม เมื่อกระเทียมเริ่มมีกลิ่นหอมให้ใส่เห็ด แล้วตามด้วยเครื่องปรุง จากนั้นผัดให้เข้ากันก็เสร็จแล้ว (ไม่ควรผัดนานมาก เห็ดจะเหี่ยวหมด)
 

ดูวิธีทำ เห็ดผัดเนยกระเทียม เพิ่มเติมคลิก

16. กุ้งกระเทียม

อาหารต้านโควิด 19

สูตรจาก คุณ Phorn_Kitchen สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม

           อื้อหือ ! แค่มีกุ้งกับกระเทียมก็อิ่มไปอีกมื้อ ใครอยากลองทำกุ้งกระเทียมจัดไป ! ความพิเศษคือโรยกระเทียมเจียวกากหมูเพิ่มความกรุบกรอบ

ส่วนผสม กระเทียมเจียวกากหมู

  • มันหมู 3 ช้อนโต๊ะ
  • กระเทียม 2 ช้อนโต๊ะ

ส่วนผสม กุ้งผัดกระเทียมพริกไทย

  • กุ้งขาว 16 ตัว (ขนาดกลาง 40 ตัวกิโล)
  • มันกุ้ง (จากกุ้ง 16 ตัว)
  • น้ำมันหอย ซีอิ๊วขาว และซอสปรุงรส อย่างละ 1/2 ช้อนโต๊ะ
  • กระเทียม ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
  • รากผักชี ประมาณ 1 ช้อนชา
  • พริกไทยเม็ด ประมาณ 1 ช้อนชา
     
หมายเหตุ : นำกระเทียม รากผักชี และพริกไทย โขลกรวมกัน

วิธีทำกุ้งผัดกระเทียมพริกไทย

     1. ทำกระเทียมเจียวกากหมู โดยเริ่มจากเจียวมันหมูก่อน พอเริ่มเหลือง ใส่กระเทียมลงไปเจียวด้วยกัน ตักพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน
     2. ทำกุ้งผัดกระเทียมพริกไทย โดยโขลกกระเทียม พริกไทย และรากผักชีรวมกัน ผัดกับน้ำมันหมูที่เจียวไว้ พอกระเทียมเริ่มเหลือง ใส่มันกุ้งที่เตรียมไว้ ใส่เครื่องปรุงทั้งหมดลงผัด พอผัดเข้ากันดีใส่กุ้งลงผัดจนสุก ตักใส่จาน โรยกระเทียมเจียวกากหมู จัดเสิร์ฟ
 

ดูวิธีทำ กุ้งกระเทียม เพิ่มเติมคลิก

ผลไม้ตระกูลส้ม
          ผลไม้รสเปรี้ยวที่อยู่ในตระกูลส้ม เช่น มะนาว เลมอน มะกรูด ส้มโอ เป็นต้น มีวิตามินซีสูง เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง สามารถป้องกันโรคระบาดจากไวรัสได้ (อ่าน 12 ประโยชน์ของส้ม สรรพคุณมากล้น กินส้มวันละผลยิ่งดี ! คลิก)

17. น้ำผึ้งมะนาวโซดา

อาหารต้านโควิด 19

          ถ้าทำน้ำมะนาวกระดกดื่มแอบรู้สึกว่าเปรี้ยวเกินไปหน่อย ลองแปลงร่างเป็นน้ำผึ้งมะนาวโซดา มีความหวานนิดหน่อย เพิ่มความซ่าจากโซดา

ส่วนผสม น้ำผึ้งมะนาวโซดา

  • น้ำผึ้ง
  • น้ำมะนาว
  • โซดาแช่เย็นจัด
  • น้ำแข็ง
  • มะนาวฝานเป็นชิ้นบาง และใบสะระแหน่ สำหรับแต่งแก้ว

วิธีทำน้ำผึ้งมะนาวโซดา

     1. ผสมน้ำผึ้งกับน้ำมะนาวให้เข้ากัน
     2. เทใส่แก้วที่มีน้ำแข็ง ตามด้วยโซดาแช่เย็น
     3. แต่งด้วยมะนาวฝาน และใบสะระแหน่ พร้อมดื่ม
 

ดูวิธีทำ น้ำผึ้งมะนาวโซดา เพิ่มเติมคลิก

          นอกจากพืชผักสมุนไพรและผักผลไม้ข้างต้นแล้ว ยังมีผักพื้นบ้านอย่างพลูคาวหรือผักคาวตอง หรือผักทั่วไปที่มีวิตามินซีสูง เช่น ดอกขี้เหล็ก มะระขี้นก ผักเชียงดา ผักแพว ผักหวาน ใบเหลียง ฟักข้าว เป็นต้น ผลไม้อย่างตรีผลา มะขามป้อม หม่อน ผลไม้มีสีต่าง ๆ เช่น ผลสีเหลือง ส้ม แดง ม่วง ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิให้ร่างกายแข็งแรงสู้กับไวรัสโควิด 19 ได้ด้วยลองหามากินหรือมาทำเมนูอาหารเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภายในกันค่ะ
 
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
อาหารต้านโควิด 19 เสริมภูมิคุ้มกันลดความเสี่ยงทำง่าย ๆ ที่ครัวบ้าน อัปเดตล่าสุด 20 พฤษภาคม 2564 เวลา 12:17:17 93,349 อ่าน
TOP
x close